จับแอบผลิตน้ำมันเครื่อง ปลอมทั้งปตท.-เชลล์ เตือน!ดูฝาซีลไม่แน่น!

ชุดสืบสวน “ปคบ.” บุกทลายโกดังผลิตน้ำมันเครื่องปลอมรายใหญ่ใน จ.สระบุรี พบของกลางอื้อ ทั้งเครื่องมือการบรรจุ กระป๋องภาชนะเลียนแบบยี่ห้อดัง ทั้ง ปตท.และเชลล์ รวมปริมาณกว่า 4,600 ลิตร มูลค่านับล้าน เตรียมออกหมายเรียกเจ้าของโรงงานพร้อมผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี เตือนประชาชนต้องตรวจสอบให้ดีก่อนนำไปใช้ เพราะน้ำมันเครื่องเถื่อนไม่ปลอดภัยและอาจทำให้เครื่องยนต์รถเสียหายได้

ตำรวจบุกทลายโรงงานผลิตน้ำมันเครื่องปลอมรายนี้ เปิดเผยขึ้นที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ชั้น 12 อาคารพิทักษ์สันติ บช.ก. ..พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปคบ. และพ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ. แถลงผลการทลายโกดังลักลอบผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอมเครื่องหมายของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

ของกลาง..
-น้ำมันหล่อลื่นปลอมเครื่องหมาย การค้าพีทีที ลูบริแคนท์ส (PTT Lubricants) จำนวน 194 ลิตร
-น้ำมันหล่อลื่นปลอมเครื่องหมายการค้าเชลล์ เฮลิกซ์ (Shell HELIX HX7) จำนวน 24 ลิตร
-น้ำมันหล่อลื่นไม่มียี่ห้อจำนวน 23 ถัง รวมปริมาณ 4,600 ลิตร
-กระป๋องเปล่าขนาด 1 ลิตรที่ปลอมเครื่องหมายการค้าพีทีทีจำนวน 200 กระป๋อง แกลลอนเปล่าขนาดต่างๆอีก 150 แกลลอน และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต บรรจุผลิตภัณฑ์อีกหลายสิบรายการมูลค่านับล้านบาท

พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ เผยว่า ตัวแทนของบริษัท ปตท.มาแจ้งความร้องทุกข์ว่า ตรวจพบผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีลักษณะแตกต่างจากของจริง ต้องสงสัยว่าจะทำปลอมขึ้น สั่งให้ พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ. และ พ.ต.ต.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ.นำกำลังออกสืบสวนหาแหล่งที่มา ก่อนเข้าตรวจค้นโกดังเลขที่ 59 หมู่ 6 ต.บ้านแก้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี พบ น.ส.ยุภาพร พิมภักตร์ อายุ 50 ปี เป็นผู้ดูแล นำตรวจค้นพบเป็นสถานที่ลักลอบผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอมจริง ตรวจค้นพบของกลางดังกล่าวจึงอายัดมาตรวจสอบ ก่อนเรียกตัวเจ้าของและผู้เกี่ยวข้องมาแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดี..

“อยากฝากเตือนภัยขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบก่อนใช้ทุกครั้ง เพราะ..

-น้ำมันหล่อลื่นแท้ต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่ซีลแน่นหนา ไม่มีการเปิดใช้งานมาก่อน

–น้ำมันเครื่องปลอมมักใช้วิธีการกรอกใหม่ หรือผสมสารอื่นเข้าไปให้เจือจางเพิ่มปริมาณ ไม่สามารถซีลฝากระป๋องใหม่ได้

-ควรสังเกตบรรจุภัณฑ์ว่ามีสภาพดีไม่มีรอยบุบ ไม่มีคราบน้ำมันติดอยู่ตามภาชนะ

-ตัวอักษรบนฉลากคมชัด ครบถ้วน ติดแน่น และมีข้อมูลครบถ้วนชัดเจน

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่ทำปลอมจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ และอันตรายไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภคด้วย” พล.ต.ต.อนันต์กล่าว.

ที่มา http://www.pohchae.com/2024/01/15/fake-engine-oil/

พลิกโฉมแท็กซี่กรุงเทพเป็นเอสยูวีหรู EVไฟฟ้า!! สหกรณ์ร่วมทำ MOU เปลี่ยนรถ 1.2 แสนคัน

พลิกโฉมสหกรณ์แท็กซี่ไทย เปลี่ยนมาใช้เป็นรถ SUV ไฟฟ้า 100% พร้อมระบบแพลตฟอร์มการเรียกรถแบบใหม่ ซึ่งมีโมเดลการสร้างรายได้ให้คนขับหลายช่องทาง สร้าง statement ให้คนขับสามารถขอสินเชื่อได้ ถือว่าเป็นการพลิกโฉมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งคนขับทั้งรถและการให้บริการแบบครบวงจรอย่างแท้จริง แถมรถกว้าง ช่วงล่างนิ่ม สมรรถนะดี มาดูกันว่าจะเป็นอย่างไร..

งานฤดูหนาวเชียงใหม่คนดูตะลึง!”เต้รถไต่ถัง” โชว์ขี่ผาดโผน ร่วงกระแทกพื้น คนขี่แน่นิ่ง

11 ม.ค.66) ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยและแพทย์ฉุกเฉินโรงนครพิงค์ ได้รับแจ้งอุบัติเหตุเกิดขึ้นภายในงานฤดูหนาวและงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นด้านหลังศูนย์ราชการจังหวัด บริเวณจุดแสดงโชว์รถไต่ถัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จึงเข้าตรวจสอบ..

พบผู้บาดเจ็บเป็นชาย 1 ราย ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน จึงให้การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล สอบถามเบื้องต้นทราบว่าผู้บาดเจ็บชื่อ นายเต้ ไม่ทราบนามสกุล เป็นนักแสดงโชว์ผาดโผนมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง ขณะแสดงโชว์ได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์วนในถังจากด้านล่างขึ้นมาถึงขอบด้านบน แต่ปรากฏว่ารถเกิดเสียหลัก ทำให้ทั้งรถร่วงตกลงไปกระแทกกับพื้นนอนแน่นิ่งไป ท่ามกลางความตกใจของผู้ชม ทีมงานจึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล..

ส่วนสาเหตุนั้นคาดว่าจังหวะปล่อยมือ แฮนด์รถไปเกี่ยวกับสลิงด้านบนทำให้รถเสียหลักหล่นลงไป นอกจากนี้ผู้บาดเจ็บยังไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ทำให้ศีรษะกระแทกพื้นจนได้รับบาดเจ็บ.

ขอให้ปลอดภัยนะครับ
cr: https://www.pohchae.com/2024/01/12/tank-climber

Suzuki TS125 มอเตอร์ไซค์วิบากคลาสสิค

△ขอขอบคุณภาพจากhttps://web.facebook.com/photo?fbid=2677091885903378&set=pcb.2677092332570000

Suzuki TS125 มอเตอร์ไซค์วิบากคลาสสิค

1981 Suzuki TS12N Dual Sport motorcycle 123ซีซี. 2จังหวะ 13 แรงม้า ระบายความร้อนด้วยอากาศ


Specifications
●DIMENSIONS AND DRY MASS
Overall length: 2,120 mm (83.5 in.)
Overall width: 800 mm (31.5 in.)
Overall height: 1,135 mm (44.7 in)
Wheelbase: 1,350 mm (53.1 in.)
Ground clearance: 250 mm (9.8 in.)
Dry mass: 97 kg (214 lbs)

●เครื่องยนต์
Type: 2-stroke cycle, air-cooled
Intake System: Piston Ported
Number of cylinder: 1
Bore: 56.0 mm (2.205 in.)
Stroke: 50.0 mm (1.969 in.)
Piston Displacement: 123 cm³ (7.5 cu. in.)
Corrected compression ratio: 6.6 : 1
Carburetor: VM24SH
Air cleaner: Polyurethane foam element
Starter system: Primary Kick
Lubrication system: SUZUKI “CCI”

●ระบบส่งกำลัง
Clutch: Wet multi-plate type
Transmission: 6-speed, constant mesh
5-speed earlier models e.g. TS 125A. Gearshift pattern: 1-down 5-up
1-down 4-up earlier. Primary reduction: 3.562 (57/16)
Final reduction ratio: 3.066 (46/15)
Gear ratios, low: 3.090 (34/11)
2nd : 2.000 (30/15)
3rd : 1.368 (26/19)
4th : 1.095 (23/21)
5th : 0.956 (22/23)
Top : 0.840 (21/25)
Drive chain: DAIDO #428D, 116 links

●CHASSIS
Front suspension: Telescopic, oil damped
Rear suspension: Swinging arm, oil dampened, spring 5-way adjustable
Steering angle: 40° (right and left)
Caster: 60°00′
Trail: 147 mm (5.79 in.)
Turning radius: 2.4 m (7.9 ft)
Front brake: Internal Expanding
Rear brake: Internal Expanding
Front tire size: 2.75-21 4PR
Rear tire size: 4.10-18 4PR

●ระบบไฟฟ้า Ignition type: SUZUKI “PEI”
Ignition timing: 20°B.T.D.C. at 6,000 r/min
Spark plug: NGK B8ES or NIPPON DENSO W24ES
Battery: 6V 14.4kC (4Ah) 10HR
Fuse: 10A
Headlight: 6V 30/30W
Tail/Brake light: 6V 5.3/25W
Turn signal light: 6V 17W
Speedometer light: 6V 3W
Neutral indicator light: 6V 3W
High beam indicator light: 6V 1.7W
Turn signal indicator light: 6V 3W

● ความจุถังน้ำมัน
Fuel tank, including reserve: 7.0 L (1.8/1.5 US/lmp gal)
reserve : 1.5 L (1.6/1.3 US/lmp qt)
Engine oil: 1.2 L (1.3/1.1 US/lmp qt)
Transmission oil: 700 ml (1.5/1.2 US/lmp pt) [1]

ขอบคุณhttps://gun.in.th/viewtopic.php?t=6305
https://www.google.com/..TwCyYib1Q5M&vss..

อาการติดยาก/วิธีเปลี่ยนซีลด้านซ้าย+ขวา DT100

ขอขอบคุณ..-ได้รับการอนุญาตนำมาเผยแพร่แล้ว จากท่าน อ.ศุภนันท์ รอดมีบุญ (ผู้เขียนบทความ)

“ขอบคุณครับจะลองทำดูครับ แต่”ถ้าเปลี่ยน ซีล นี่คงต้องผ่ากลางใช่มั้ยครับ”

ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าคับ
เปิดฝาครอบจานไฟ(ล้อแม่เหล็ก)แล้ว ถอดจานไฟกับแผงขดลวดออก ใช้ไขควงตัวเล็กงัดออก ตอกออก หรือตะปูก็ได้คับพอถอดออกมาแล้วก็เอาซีลตัวใหม่ใส่เข้าไปแทน ทาน้ำมัน ก่อนใส่ด้วย

วิธีใส่ซีลถ้าเอามือกดเข้าไปได้ก็ใช้มือกด แต่ถ้าไม่ได้เอาซีลตัวเก่าลองแล้วเอาค้อนเคาะเข้าไป เป็นอันเสร็จ

————

…ต้องเปลี่ยนทั้ง 2 ข้างนะครับทำทีละข้างด้านซ้ายข้างจานไฟ เสร็จแล้วมาเปลี่ยนซีลข้างขวาถอดฝาครอบด้านขวาออก ต้องถอดชุดคลัชออกมันยากตรงถอดน้อตที่ปิดเฟืองขับจานคลัชมันจะแน่น ปกติเขาใช้บล็อกลมยิงอีกวิธีใช้ประแจบล็อกหรือประแจแหวนแต่ต้องขัดชามคลัชไม่ให้หมุนตาม

ต้องระวังนะครับไม่อย่างนั้นชามคลัชจะหัก…ต้องใช้ไขควงตอก. ..เมื่อเปลี่ยนซีลหมดแล้วให้ถอดท่อไอเสียออกแล้วเลื่ อนลูกสูบให้เลื่อนขึ้นใช้ลมเป่าเข้าไปในห้องแคร้งเพื่อไล่น้ำมันที่หลงเหลือ ปกติในห้องนี้ไม่มีน้ำมันเครื่องนะครับจะมีแต่ไอของไอดี(น้ำมัน+อากาศ+2T)เท่านั้น ……การเปลี่ยนเฉพาะซีลด้านซ้ายไม่ได้แก้ปัญหาน้ำม ันเครื่องเข้าห้องแคร้งนะครับปัญหาอยู่ที่ซีลด้านขวา เป็นเหตุใหญ่……..

e29bti..อ. ครับ มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผมทราบมาด้านแกนเพลาข้อเหวี่ยงทางขวาของเครื่องจะมีโอลิงตัวเล็กๆ
ซึ่งบางครั้งหายากมาก (ก่อนใส่ปลอกเหล็ก) หากเสียหรือเสื่อมสภาพแล้วน้ำมันก็ไหลเข้าเครื่องได้ เช่นกันและทำให้เครื่องไม่มีกำลังอัดถูกต้องไหมครับ

ถูกต้องครับที่แกนเพลาข้อเหวี่ยงด้านขวาจะมีโอริงเล็กๆตัวหนึ่งสวมอยู่บนเพลา ซึ่งโอริงนี้จะกันไม่ให้น้ำมันเครื่องไหลเข้าไปในห้องข้อเหวี่ยงได้…ถ้าเสื่อมสภาพก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ท่านว่า…ในรูปก็คือเพลาข้อเหวี่ยงด้านขวา ปลายเพลาจะเป็นเฟืองตัวเล็กที่ไปขับชามคลัช..ใต้เฟืองตัวนี้จะมีปลอกเหล็กสวมกับเพลาข้อเหวี่ยง ตัวที่กันไม่ให้น้ำมันเข้าในห้องข้อเหวี่ยงก็มีซีลข้อด้านขวาที่สวมอยู่ด้านนอกปลอกเหล็กกับฝาส่วนด้านใน ปลอกจะมีโอริงกันด้านในซึ่งมันหมุนไปกับเพลาข้อเหวี่ยง(ลงภาพให้สมาชิกท่านอื่นเพื่อเป็นความรู้นะครับ)

ขอบคุณ https://www.thaiscooter.com/forums/showthread.php?t=368398&page=158
ยูทูปช่างpui
https://www.thaimotocar.com/2023/03/05/spring-presses-clutch-plate/

Suzuki TS125ER … วิหคสายฟ้า

เป็นอีกหนึ่งตัวลุย บังโคลนหน้าลอยรุ่นยอดนิยมในยุค 80’s สำหรับ Suzuki TS125ER ที่ต้นสังกัดภูมิใจว่าพัฒนามาจากต้นแบบตัวแข่งรหัส RM ที่สร้างผลงานในสนามแข่งด้วยการคว้าแชมป์โมโตครอสโลกถึง 6 ปีซ้อน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 – 1980)

Suzuki TS125ER ใช้ระบบ CDI ที่พัฒนาใหม่ช่วยให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย เดินเรียบ เพิ่มอัตราเร่ง แถมประหยัดน้ำมัน ที่สำคัญยังถือได้ว่าเป็นรถวิบากรุ่นแรกในยุคที่ติดตั้งระบบเกียร์ 6 สปีดมาด้วย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในทางวิบาก และบนถนนทางเรียบ

ขอขอบคุณ นิตยสารมอเตอร์ไซค์ MotorcycleMagazine
https://www.weekendhobby.com/motorcycle/webboard/shtml/727
https://thai.webike.net/mt/suzuki-ts125-554/tab/service

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบกลับหัว-ไม่กลับหัว มีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง? มาดูกัน

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบไม่กลับหัว
โช๊คอัพประเภทนี้คือ โช๊คอัพแบบธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป หรือเรียกว่า โช๊คอัพ Telescopic เป็นโช๊คอัพที่มักใช้กับมอเตอร์ไซค์ทั่วไป ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ประเภทบิ๊กไบก์..

ลักษณะเด่นของโช๊คอัพแบบไม่กลับหัวนี้คือ กระบอกโช๊คอัพที่บรรจุน้ำมันไฮดรอลิกจะอยู่ตรงส่วนล่าง เชื่อมต่อกับแกนที่เป็นแบบอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะที่ตัวกระบอกโช๊คอัพเคลื่อนขึ้นลง ตัวรถจะยุบตัวลงมาเข้าหาช่วงล่าง
เมื่อคุณขี่มอเตอร์ไซค์แล้วเจอกับแรงสะเทือนบนถนน ซึ่งโช๊คอัพแบบนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้..

ข้อดีของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบไม่กลับหัว
-ราคาถูก
-ดูแลรักษาง่าย
-โอกาสที่แกนจะเกิดรอยขีดข่วนหรือเสียหายได้ยากกว่าเนื่องจากตัวแกนอยู่สูง

ข้อเสียของโช๊คอัพมอเตอร์ไซค์แบบไม่กลับหัว
-น้ำหนักบรรทุกจะถูกส่งไปยังสปริงค่อนข้างมาก ทำให้ควบคุมรถยากกว่า ไม่นุ่มนวลนัก

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบกลับหัว

โช๊คอัพมอเตอร์ไซค์แบบกลัวหัว หรือโช๊คอัพ Upside Down มักพบเห็นในรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า บิ๊กไบก์ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบ้างที่ถูกนำมาใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กทั่วไปเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวรถ โดยโช๊คอัพประเภทนี้จะเหมาะกับรถที่ใช้ในพื้นที่ที่มีความขรุขระ พื้นผิวถนนไม่เรียบเสียเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงรถมอเตอร์ไซค์ที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงด้วยเช่นกัน..

จุดเด่นของโช๊คอัพแบบกลับหัว คือ ลักษณะการทำงานที่แตกต่างตรงกันข้ามจากโช๊คอัพธรรมดา ตรงที่กระบอกโช๊คอัพที่บรรจุน้ำมันไฮดรอลิกจะถูกจัดวางเอาไว้ด้านบน ส่วนด้านล่างจะเป็นแกนที่ยึดล้อกับตัวรถเข้าด้วยกัน ตัวแกนยึดล้ออยู่ด้านล่างจะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ขึ้นลง เมื่อคุณขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่ตัวกระบอกโช๊คอัพ การที่ส่วนล่างเคลื่อนไหวนี้เองทำให้รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ดีกว่าการใช้โช๊คอัพแบบธรรมดา

การที่ตัวแกนยึดล้อส่วนล่างเคลื่อนไหวนี้เอง
ทำให้รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ดีกว่าการใช้โช๊คอัพแบบธรรมดา

ข้อดีของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบกลับหัว
-ตัวรถนิ่งกว่า เพราะส่วนล่างของรถมอเตอร์ไซค์เป็นตัวเคลื่อนไหว จึงนุ่มนวลกว่า
-บังคับรถมอเตอร์ไซค์ได้ง่ายกว่า เพราะน้ำหนักที่กดลงไปยังสปริงเหลือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ส่วนน้ำหนักที่เยอะ ๆ จะอยู่กับตัวรถแทน

ข้อเสียของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบกลับหัว
-ราคาแพง
-ดูแลรักษายาก เพราะตัวแกนที่อยู่ด้านล่างมีโอกาสได้รับความเสียหาย ขีดข่วน หรือพังง่ายกว่า

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบไหน เหมาะกับคุณ?
โช๊คอัพทั้ง 2 นี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากว่าคุณใช้งานรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบก์ ลุยพื้นที่โหด ๆ ไม่ราบเรียบ หรือขับขี่ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ ก็ควรเลือกใช้โช๊คอัพแบบกลับหัว แต่ทั้งนี้หากคุณต้องการใช้โช๊คอัพแบบกลับหัว คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า..
-รถมอเตอร์ไซค์ของคุณรองรับกับโช๊คอัพประเภทนี้หรือไม่
-โช๊คอัพสามารถติดตั้งได้พอดีกับโครงสร้างรถมอเตอร์ไซค์หรือไม่
-ต้องทำใจเรื่องค่าใช้จ่ายและการบำรุงรักษาด้วยเช่นกัน.

ที่มา https://www.pohchae.com/2024/01/04/motorcycle-shock-absorber/

5 แอปฯ ของสถานีชาร์จรถEV ที่คนใช้รถพลังงานไฟฟ้าในไทย ควรมีในมือถือ

5 แอปฯ สถานีชาร์จรถEV ที่คนใช้รถพลังงานไฟฟ้าในไทย ควรมีติดตั้งไว้


1. EA Anywhere EA Anywhere เป็นแอปฯ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) โดยสถานี EA Anywhere นั้นจะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก ปัจจุบันมีสถานีชาร์จเปิดให้บริการมากกว่า 500จุด EA Anywhere เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่ใช้งานง่าย สามารถค้นหาสถานีชาร์จได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังมีระบบนำทางที่ดี สามารถนำทางผู้ใช้งานไปยังสถานีชาร์จที่ต้องการได้
2. EV Station PluZ EV Station PluZ เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากเครือ ปตท. ที่ครอบคลุมทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปัจจุบัน EV Station PluZ มีสถานีชาร์จเปิดให้บริการแล้วกว่า 400 แห่ง มีเครื่องชาร์จทั้งแบบ Normal Charge และแบบ Quick Charge ตัวแอปฯ มีจุดเด่นตรงที่สามารถเช็กสถานะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถเช็กความพร้อมของสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่เรากำลังจะไปได้อีกด้วย
3. PEA VOLTA PEA VOLTA เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจาก กฟภ. หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมรองรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ด้วยหัวจ่ายกระแสไฟตามมาตรฐาน ตัวแอปฯ มีจุดเด่นคือช่วยผู้ใช้งานค้นหาสถานีชาร์จ จองหัวชาร์จ และชำระเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ในปัจจุบันตัวแอปฯ PEA VOLTA มีสถานีชาร์จให้บริการทั้งสิ้น 118 สถานี ใครที่สนใจอยากลองใช้งานก็ไปดาวน์โหลดกันได้ ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

4. MEA EV MEA EV เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง ในปัจจุบันตัวแอปฯ มีสถานีชาร์จให้บริการทั้งสิ้น 34 สถานี (138 หัวจ่าย) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ MEA EV สามารถใช้ค้นหา จอง และชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิด จุดเด่นของแอปฯ นี้คือการช่วยคำนวณเส้นทางพร้อมระบุจุดแวะพัก ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากหากคุณเป็นคนที่ใช้รถ EV

5. EVolt EVolt เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่มีสถานีชาร์จมากกว่า 500 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ซึ่งมีฟีเจอร์ที่สำคัญคือสามารถเช็กข้อมูลได้ ว่าสถานีไหนมีคิวว่างพร้อมชาร์จ อีกทั้งยังสามารถสั่งเริ่มและหยุดการชาร์จได้ผ่านแอปฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คลิปรีวิว สถานีชาร์จรถไฟฟ้าEVในไทยทั้ง 9 แบรนด์ การใช้งาน-ข้อแตกต่าง-ใครคุ้มสุด?