ผู้เขียน: thaim
แบตเตอรี่เกลือ ความจุสูงกว่าลิเธียมไอออน 4 เท่า และไม่ระเบิด
แม้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะเป็นที่นิยมใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย แต่บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่หลายรายในปัจจุบันเริ่มคิดค้นหาแนวทางการผลิตแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีจุดอ่อนเรื่องความเปราะบาง เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และราคาที่ปรับสูงมากขึ้นตามความต้องการใช้งาน จึงเกิดการพัฒนาแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมและปลอดภัยกว่าเดิม และขณะนี้ แบตเตอรี่โซเดียมไอออน กำลังก้าวขึ้นมาโดดเด่นในปี 2566
แบตเตอรี่โซเดียมจึงเริ่มถูกนำมาปัดฝุ่นได้รับการพัฒนาอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างน้ำทะเล
ภายใต้การพัฒนาอันยาวนานล่าสุดทีมวิจัยจาก University’s School of Chemical and Biomolecular Engineering ก็ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่แบตเตอรี่เกลือ โดยการเพิ่มกำมะถันเข้าไปในวงจรทำให้เกิดกระบวนการ Pyrolysis จากขั้วไฟฟ้า ช่วยยกระดับศักยภาพของแบตเตอรี่พลังงานเกลือให้ใช้งานจริงได้ในที่สุด..
แบตเตอรี่ที่ประสบความสำเร็จนี้คือ แบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์ ซึ่งมีความจุสูงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาดเดียวกันถึง 4 เท่า โดยยังสามารถรักษาความจุสูงสุดของเซลล์พลังงานในแบตเตอรี่ไว้ได้แม้ผ่านการชาร์จไปมากกว่า 1,000 ครั้ง ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่สำหรับแบตเตอรี่ซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียม และถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของวงการ
โซเดียมเป็นโลหะอ่อน ๆ ที่อยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไลน์ (Alkaline) มีลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน มีคุณสมบัติสำคัญ คือ เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี ไม่เป็นพิษ มีความเสถียรต่อความร้อนและความเย็น และเมื่อนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่จะสามารถชาร์จไฟฟ้าได้เร็ว มีความหนาแน่นของพลังงานที่สูง ประกอบกับปัจจัยต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไออนที่มีต้นทุนต่ำกว่าแบตเตอรรี่ลิเธียมไอออน จึงเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะการผลิตแบตเตอรี่เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์
ปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่หลายๆ แห่งหันมาผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่โซเดียมไอออน เช่น บริษัท CATL ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ให้แก่ Tesla และ Volkswagen ได้ออกมาเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียมไอออนที่สามารถชาร์จได้ 80% ภายในระยะเวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้ผลิตอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขจุดอ่อน ได้แก่ ขนาดของแบตเตอรี่ที่ใหญ่ และปัญหาของเซลล์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วหลังการใช้งานเพียงไม่นาน อย่างไรก็ดี แบตเตอรี่โซเดียมไอออนไม่เพียงใช้กับรถยนต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังใช้กับการขนส่งไฟฟ้าได้หลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันได้เริ่มใช้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) บางส่วนด้วยแล้ว.
อีกหนึ่งข้อดีของแบตเตอรี่ที่ผลิตจากโซเดียมคือ การไม่ประสบปัญหาจากอุณหภูมิแบบเดียวกับที่เกิดในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ปฏิกิริยาไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ใช้เกลือเป็นวัตถุดิบสามารถเกิดขึ้นได้แม้ในอุณหภูมิหนาวเย็น จึงไม่จำเป็นต้องกังวลการใช้งานแบตเตอรี่ในสภาพอากาศสุดขั้วอีกต่อไป..
นี่จึงเป็นเหตุผลให้นักวิจัยจำนวนมากให้ความสนใจพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมเกิดขึ้นมามากมายจากทั่วโลก
ปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไม่ได้มีเพียงแบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์อย่างเดียวแต่เกิดขึ้นในหลายภาคส่วน เช่น ในรัสเซียมีการคิดค้นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนขึ้นมา หรือแม้แต่ในประเทศไทยยังมีการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน ที่อาจช่วยผลักดันให้เราเป็นศูนย์กลางในการผลิต EV ได้ในอนาคต.
cr:https://globthailand.com/%E0%B9%81%E0%B8%..
https://www.posttoday.com/post-next/innovation/688765
https://www.google.com/..0%B9%81%E0%B8%9A%E0..
รีวิว HONDA CRF300L และ CRF300 Rally
การทำงานของเครื่องยนต์2จังหวะ
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (Two-stroke engine ) คือเครื่องยนต์ที่ทำงาน 2 ช่วงชัก คือ..
●ช่วงชักที่ 1 คือช่วงชักดูดกับอัด และ
●ช่วงชักที่ 2 คือช่วงชักระเบิดและคาย
และเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะไม่มีวาล์วเปิดปิดไอดีไอเสีย แต่จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิดปิดไอดีไอเสียแทน ซึ่งเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะทำงานรอบจัดกว่าเครื่องยนต์ 4 ช่วงชัก และการเผาไหม้ก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าด้วย
ช่วงชักที่ 1
ดูด/อัด:ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบนสู่ศูนย์ตายล่าง ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมานั้นจะทำให้ช่องพอร์ตไอดีเปิดไอดีถูกอัดจาก ห้องแคร้งค์ผ่านเข้ามาบรรจุในห้องเผาไหม้ ในตอนนี้ช่องพอร์ตไอเสียจะเปิดออก ด้วยเชื้อเพลิงที่เข้ามาจะช่วยขับไอเสียจากการเผาไหม้ด้วย ในการทำงานดังกล่าวเพลาข้อเหวี่ยงทำงาน1/2 รอบ (ครึ่งรอบ)
ช่วงชักที่ 2
ระเบิด/คาย:ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ทำ ให้ช่องพอร์ตไอดีและพอร์ตไอเสียปิด จึงอัดเอาเชื้อเพลิงให้มีปริมาตรเล็กลงในห้องเผาไหม้ หัวเทียนส่งประกายไฟจุดระเบิดเชื้อเพลิง ลูกสูบเคลื่อนที่ลงเพราะแรงระเบิด ทำให้ลูกสูบอัดเชื่อเพลิงในห้องแคร้งค์แล้วถูกอัดเข้ามาเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนพอร์ตไอดีและพอร์ตไอเสียเปิดเชื้อเพลิงจะขับไล่ไอเสียออกด้วย เพลาข้อเหวี่ยงหมุนครบ 1 รอบ พอดี.
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ( 2 Cycle Engine )
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (Cycle Engine) เป็นเครื่องยนต์แบบง่าย การทำงานและชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีความยุ่งยากน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ การนำเอากาศดีเข้าไปในกระบอกสูบและปล่อยอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากกระบอกสูบเกิดขึ้นโดยการเปิดและปิดของลูกสูบเอง เครื่องยนต์ชนิดนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีลิ้นและกลไกเกี่ยวกับลิ้น
ลักษณะของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีดังนี้
1. อ่างน้ำมันเครื่องปิดสนิท แต่เครื่องยนต์บางแบบมีช่องให้อากาศหรือไอดีเข้าเพื่อผ่านขึ้นไปในกระบอกสูบ
2. ไม่มีเครื่องกลไกของลิ้น ลูกสูบจะทำหน้าที่เป็นลิ้นเอง
3. กระบอกสูบอยู่ในลักษณะตั้งตรง
4. มีช่องไอดี (Inlet Port) เป็นทางให้อากาศเข้าไปภายในกระบอกสูบ โดยอาจจะมีเครื่องเป่าอากาศช่วยเป่าเข้าไป
5. มีช่องไอเสีย (Exhaust Port) เป็นทางให้อากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบ
สัดส่วนความอัด (Compression Ratio) อัตราส่วนระหว่างปริมาตรภายในกระบอกสูบเมื่อลูกสูบอยู่ที่จุดศูนย์ตายล่างกับปริมาตรภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบนสัดส่วนความอัดของเครื่องยนต์มีความสำคัญมากเพราะมีความสัมพันธ์กับชนิดและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้
เครื่องยนต์เบนซินจะมีสัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 5.5/1 ถึง 8/1 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบหลังจากที่อากาศถูกอัดแล้ว สัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 14/1 ถึง 18/1
ขอบคุณhttps://www.google.com/..E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B..
YAMAHA DT100 รถคลาสสิคในตำนาน โมลงสนามเต็มๆจากสำนักช่างอู๊ด บางพลี (SEVENONE ONLINE )
แก้ปัญหาเฟืองคันสตาร์ทรูดในYamaha dt, rxs, rxk,rx100/ เกิดจากอะไร?แก้ตรงไหน?
ชุดไอพ่นบินได้ด้วยตัวเองใช้น้ำมันโซล่า วางขายแล้ว
ชุดเจ็ตสูทนี้ถูกคิดค้นโดยนายริชาร์ด บราวนิ่ง นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ หากคุณสวมใส่แล้วก็จะสามารถบินได้จริง เหมือนอย่างกับ ‘ไอรอน แมน’ โดยที่แขนและหลังมีเครื่องไอพ่นขนาดเล็กติดไว้ถึง 5 ตัว ทั้งชุดมีน้ำหนักประมาณ 27 กก.
เมื่อเติมเชื้อเพลิงด้วยน้ำมันดีเซล ก็จะสามารถบินได้สูงสุด 3,658 เมตร ที่ความเร็วสูงสุด 50 กม./ชม. แต่จะบินได้ครั้งละประมาณ 3-4 นาที โดยเครื่องไอพ่นจะกินน้ำมันนาทีละประมาณ 4 ลิตร อย่างไรก็ตามผู้คิดค้นเผยว่ากำลังพัฒนาให้มันสามารถบินได้ยาวนานขึ้นกว่านี้..
หากใครสนใจซื้อ จะมีการวัดสัดส่วนร่างกายลูกค้าเฉพาะของแต่ละคนด้วยแม่พิมพ์ 3 มิติ ส่วนราคานั้นอยู่ที่ 443,428 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 14.8 ล้านบาท เท่านั้นเอง.
ขอบคุณ
https://eon49.com
คลิปจาก Reuters
วิธีผูกมัด รถมอเตอร์ไซค์ไว้ท้ายรถกระบะ แบบไม่มีปม
มาดูขนาดเครื่องยนต์รถบรรทุก500แรงม้า เมื่อวางเทียบกับมอเตอร์ไฟฟ้า1,020 แรงม้า
1. เครื่องยนต์ดีเซล(อันหลัง) 400-600 แรงม้าสำหรับ semi truck
2. มอเตอร์ไฟฟ้า ของ Tesla Semi (tri motor หรือ มอเตอร์รวมอยู่ด้านในทั้งหมด 3 ตัว) 1,020 แรงม้า
Blink Drive Take
หมายเหตุ : ตัวที่นำมาโชว์นั้นคือ 2 มอเตอร์นะครับ พละกำลังนั้นแรงกว่าเครื่องดีเซล (แรงบิด) มากกว่า 2 เท่าไปแล้วครับ
ส่วนระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของ Tesla Semi นั้นถูกพัฒนามาจากมอเตอร์ไฟฟ้าของ Tesla Model S plaid เกือบทั้งหมด
ดังนั้น อะไหล่หลายชิ้นใช้ร่วมกันได้ครับ
ถ้าช่างซ่อมมอเตอร์ Tesla Model 3 Performance เป็นก็ซ่อมมอเตอร์ไฟฟ้าคันนี้ได้ครับ
เพราะ Tesla Model S plaid ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า(หลัง)มาจาก Tesla Model 3 Performance ประกบคู่ครับ
ที่มา : https://twitter.com/megawat…/status/1620769342886653952…
https://web.facebook.com/search/top?q=blink%20drive
วิบากพาเที่ยว ดอยภูลังกา อ.ปง จ.พะเยา
—