หนุ่มไอเดียร์แจ่ม สร้างมอเตอร์ไซค์ล้อเดียว “Monotrack Bike”ทำจากเศษอะไหล่ แรงเหลือๆลุยได้ทุกที่

หนุ่มนักประดิษฐ์มอเตอร์ไซค์สุดแหวกแนว Make It Extreme เอาอะไหล่เก่าๆมารวมกันใหม่ เป็นมอเตอร์ไซค์ล้อเดียว แรงๆแบบไม่น่าเชื่อ..

มาดูว่า ในใบจดทะเบียนรถมอไซค์ไฟฟ้า มีเลขเครื่องยนต์ไหม?

△ลักษณะตรงรุ่นของรถที่จดทะเบียน

△หลังจากจดทะเบียนเสร็จ จะได้รับ ใบคู่มือจดทะเบียน และแผ่นป้าย+ใบทะเบียน ..ส่วนกรอบใส่ เราต้องไปจัดหาเองนะครับ

ท่อแคท คืออะไร? ทำงานอย่างไร ?

ท่อแคท หรือ แคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic converter) คือ ตัวกรองที่ทำหน้าที่เปลี่ยนไอเสียให้สะอาดขึ้น เพื่อไม่ให้เกินมาตรฐานไอเสียยูโร European Emission Standards โดยจะอยู่ติดกับท่อไอเสีย ภายในมีไส้กรองรังผึ้งทำจากเซรามิกเคลือบด้วยไทเทเนียม อะลูมิเนียม และซิลิคอน ทำให้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี

ภายในแคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ ยังประกอบไปด้วยโลหะต่าง ๆ ได้แก่ แพลตตินัม, แพเลเดียม และโรเดียม ที่ใช้สำหรับการรีดักชั่น (Reduction) และออกซิเดชั่น( Oxidation) ช่วยลดมลพิษในห้องเผาไหม้ ..

โลหะแพลตตินัมกับแพลเลเดียมจะใช้เพื่อการ Oxidation ก๊าซคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ส่วนโรเดียมจะใช้สำหรับการ Reduction ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

ปกติแล้ว ท่อแคทตาไลติกจะมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 100,000 กิโลเมตร โดยอายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ หากเครื่องยนต์เผาไหม้ได้ดี ไม่ทิ้งคราบเขม่าไว้เยอะ ก็จะสามารถใช้งานได้นาน แทบไม่มีโอกาสอุดตันเลย

ท่อแคตอุดตัน เกิดจากการที่เครื่องยนต์เผาไหม้ได้ไม่มีประสิทธิภาพ จนสะสมสิ่งตกค้างที่มากับคราบเขม่าไว้ และเมื่อแคทตาไลติกอุดตัน เครื่องยนต์จะระบายไอเสียได้น้อยลงกว่าเดิม จนส่งผลให้พละกำลังลดลง และเพิ่มอัตราสิ้นเปลืองพลังงานมากยิ่งขึ้น วิธีการแก้ไข คือ นำรถเข้าอู่เพื่อให้ช่างตรวจสอบความผิดปกติของระบบที่ทำหน้าที่ล้างการเผาไหม้ 

อย่างไรก็ตาม แม้ท่อแคทจะหมดสภาพไปแล้ว แต่ก็ยังสามารถนำมาขายต่อได้ เนื่องจากภายในถูกบรรจุด้วยโลหะแพลตตินัม, แพเลเดียม และโรเดียม ที่มีมูลค่าและสามารถรีไซเคิลได้ โดยมีราคาจำหน่ายเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นเลยทีเดียว แต่จะส่งต่อได้ในราคาเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณโลหะที่เหลืออยู่ภายในด้วยเช่นกัน .

cr: https://khaorot.com/car-care-and-maintenance/%E0%B8%97%E0%B..
https://www.google.com/..&bih=635&biw=1366&client=firefox-b-d&h..

Yamaha XT225 SEROW

cr: https://en.wikipedia.org/wiki/Yamaha_XT225
https://thai.webike.net/mt/yamaha-serow225-xt225-818/tab/service

ManufacturerYamaha Motor Company
Also calledYamaha Serow
Production1986–2007
SuccessorXT250
ClassDual-sport
Engine223 cc, Single-cylinder, air-cooled, four-stroke, SOHC, 2-valves[1]
Compression ratio9.5:1
Power20 hp (15 kW)[2]
Torque19 N⋅m (14 lb⋅ft)
Transmission6-speed
SuspensionFront: telescopic
Rear: swingarm with rebound adjust
BrakesFront: 220mm disc
Rear: 110mm drum
TiresFront: 21 inch
Rear: 18 inch
Wheelbase53.1 in (1,349 mm)
DimensionsL: 81.5 in (2,070 mm)
W: 31.7 in (805 mm)
H: 45.7 in (1,161 mm)
Seat height31.9 in (810 mm)
Weight238 lb (108 kg) (dry)
Fuel capacity2.3 US gal (8.7 L)
RelatedTT-R225

“เบอร์โซ่สเตอร์คืออะไร?” ตัวเลขนั้นหมายถึง?

“เบอร์โซ่สเตอร์คืออะไร?” ตัวเลขนั้นหมายถึง?


คุณอาจจะเคยได้ยินตัวเลข 428 520 525 530 ที่เป็นตัวเลขที่เกี่ยวกับโซ่รถมอเตอร์ไซค์กันบ้างแล้ว.. แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเลขพวกนี้คืออะไรกันแน่

เช่น เบอร์ 520 ที่นิยมใส่กันในรถบิ๊กไบค์ สำหรับเลข 5 ที่ขึ้นต้นก็คือ ระยะ Pitch หรือระยะความห่างของสลัก ในที่นี้จะห่างกันอยู่ที่ ⅝ นิ้ว หรือราว 5 หุน นั่นเอง..

ส่วนตัวเลขที่ตามมาคือ 20 นั่นก็คือ ระยะ Width หรือระยะห่างระหว่างแผ่นประกบ ซึ่งในตัวอย่าง 520 ก็แสดงว่าห่างกัน 2.0/8 นิ้ว หรือราวๆ 2 หุน

เมื่อนำโซ่แต่ละขนาด แต่ละเบอร์มาเทียบกัน จะพบว่า โซ่เบอร์ 428 จะมีระยะห่างสลักน้อยกว่าและขนาดความหนาของข้อประกบโซ่น้อยกว่าโซ่เบอร์อื่น โดยที่ 520, 525 และ 530 จะมีระยะห่างสลักเท่ากันแต่ระยะะห่างระหว่างแผ่นประกบด้านในจะมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งการใช้งานจะแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะประเภท และกำลังเครื่องยนต์ของรถ โดยค่าประมาณเบอร์โซ่คร่าวๆ จะเป็นลักษณะดังนี้..
– โซ่เบอร์ 428 ใช้สำหรับ “รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป/รถสปอร์ต 125-150cc”
– โซ่เบอร์ 520 ใช้สำหรับ “รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ต 250-500cc”
– โซ่เบอร์ 525 ใช้สำหรับ “รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ต/บิ๊กไบค์ 650-1000cc”
– โซ่เบอร์ 530 ใช้สำหรับ “รถมอเตอร์ไซค์คลาสสิคขนาดใหญ่/บิ๊กไบค์/ครุยเซอร์ไบค์ 900-1300cc”
(*แต่ละแบรนด์โซ่และแบรนด์รถจะมี spec กำหนดแตกต่างกัน)

นอกจากนี้โซ่บางยี่ห้ออาจยังมีตัว H ที่ตามมาด้านหลัง ซึ่งมันก็หมายถึง High Strength สามารถทนทานต่อแรงฉุดที่สูงขึ้น เจ้าแผ่น Inner และ Outer Plate มีความหนามากกว่าเดิมนั่นเอง

หลังจากรหัสดังกล่าวแล้ว ก็จะมาตัวเลขตามอีก 3 ตัว เช่น 520H – 120 เห๊นแล้วก็ไม่ต้องงงครับ มันเป็นแค่ตัวเลขบอกจำนวนของข้อต่อโซ่นั่นเอง ในที่นี้ก็หมายความว่าโซ่ขนาด 520 เส้นนี้ มีข้อต่อทั้งหมด 120 ข้อ

นอกจากนี้ในบางกล่องยังระบุถึงการล๊อคของโซ่ไว้ให้ด้วย เช่น SL = กิ๊บล๊อค, RL = หมุดล๊อค เป็นต้น และยังมีการระบุความพิเศษอื่นๆ เช่น RX, O, X พวกนี้คือ โซ่ที่มีการเสริมโอริงในรูปแบบต่างๆ ที่ทางค่ายผู้ผลิตนิยมเรียกกันว่า O-ring, X-ring, RX-Ring ตามลักษณะโอริงแต่ละแบบนั่นเอง

ยกตัวอย่างการอ่านค่ารหัสเต็มๆ เช่น 520H – 120SL RX ก็สามารถตีความได้ว่า โซ่นี้ มีขนาด 520 ที่มีความหนามากกว่าทั่วไป และมีความยาว 120 ข้อ โดยเชื่อมกันแบบกิ๊บล๊อค และเป็นแหวนแบบ RX-Ring

ขอขอบคุณhttps://www.furiishopbigbike.com/article/4/quot%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E..
https://bigbike.boxzaracing.com/knowledge/18543

เรือกลเดินทะเลต่างประเทศ บทที่2 (อ.Suksawan Thawat)

@useres8ukuttwq เรือกลเดินทะเลต่างประเทศ บทที่2 #ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี #ลูกศิษย์อาจารย์เฉลิมชัย #อาจารย์เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ ♬ เสียงต้นฉบับ – EBC

ยกสูงหรือโหลดเตี้ย YAMAHA DT125 โมโนโช๊ค ง่ายๆด้วยตนเอง

คลิปนี้เป็นวิธีแก้ปัญหา รถYAMAHA DT125โมโนโช๊ค ที่ท้ายโด่งยกสูงมา ทำให้ขึ้นลงยาก หรือมองดูแล้วทรงไม่สวยไม่ชอบ ก็แล้วแต่เพื่อนๆชอบกันครับ แต่เพื่อนๆมีสว่านและดอกสว่านก็สามารถทำ ให้รถเตี้ยหรือสูงขึ้นแล้วครับ ไปดูวิธีการทำกันครับ..

จีนทุ่มลงทุนนับหมื่นล้าน ตั้งฐานในไทยผลิตรถ EV หลายแสนคัน ป้อนตลาดโลกรถไฟฟ้า

ฉางอัน ออโตโมบิล ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน ประกาศลงทุนในไทย 9,800 ล้านบาท เตรียมยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ เพื่อสร้างฐานการผลิตรถยนต์ EV พวงมาลัยขวาแห่งแรกนอกประเทศจีน 1 แสนคันส่งออกทั่วโลก

บีโอไอย้ำเดินหน้าดึงบริษัทชั้นนำลงทุน EV ดันไทยเป็นฐานการผลิตหลักของโลก

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากการทำงานร่วมกับบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิลอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งบีโอไอได้เดินทางไปพบผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ประเทศจีน เมื่อต้นเดือน เม.ย.66 เพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญประกอบการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย รวมทั้งได้ตอกย้ำมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิต EV ระดับโลก ส่งผลให้บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และได้แถลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า บริษัทตัดสินใจลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการลงทุนครั้งใหญ่เป็นแห่งแรกนอกประเทศจีน ด้วยเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท..

ในการจัดตั้งฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาทั้งประเภท BEV, PHEV, REEV (Range Extended EV) และแบตเตอรี่ กำลังการผลิตในระยะแรก 1 แสนคันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจำหน่ายตลาดในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และแอฟริกาใต้ บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ และเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ด้วยยอดขายกว่า 2 ล้านคันในปีที่แล้ว มีสำนักงานใหญ่และฐานการผลิตหลักอยู่ที่มหานครฉงชิ่ง

อีกทั้งได้ร่วมลงทุนกับบริษัทฟอร์ดและมาสด้า ผลิตรถยนต์ในจีนด้วย สำหรับแผนการลงทุนในไทยนั้น บริษัทเริ่มศึกษาข้อมูลการลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 63 และหารือร่วมกับสำนักงานบีโอไอ ณ นครเซี่ยงไฮ้ อย่างใกล้ชิด ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก รวมถึงได้ส่งทีมงานเดินทางมาพบผู้บริหารบีโอไอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง เพื่อหารือมาตรการสนับสนุนและรวบรวมข้อมูลประกอบการวางแผนการลงทุน

“การตัดสินใจลงทุนในไทยของฉางอัน เป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก อีกทั้งแสดงถึงความเชื่อมั่นของบริษัทที่มีต่อประเทศไทย ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ศักยภาพของตลาด นโยบายเชิงรุกในการส่งเสริม EV แบบครบวงจร รวมทั้งซัพพลายเชนที่พร้อมรองรับการผลิต EV

โดยบริษัทได้เริ่มหารือกับซัพพลายเออร์ในไทย เพื่อให้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆส่งให้กับบริษัท ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่ด้วย นอกจากนี้ บีโอไอจะเดินหน้าทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดึงผู้ผลิต EV รายอื่นๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ให้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม ควบคู่กับการส่งเสริมระบบชาร์จไฟฟ้าและ eco system ที่จำเป็น เพื่อให้ฐานอุตสาหกรรม EV ในประเทศไทยแข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

ที่ผ่านมาบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) รวมทั้งหมด 26 โครงการ จาก 17 บริษัท รวมมูลค่าเงินลงทุน 86,800 ล้านบาท โดยครึ่งแรกของปี 66 คาดว่าจะมีการขอรับการส่งเสริมเพิ่มอีกอย่างน้อย 2 โครงการ จากบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล ซึ่งวางแผนจะยื่นขอรับการส่งเสริมภายในเดือน พ.ค.นี้ และบริษัท GAC Aion ที่ได้มาหารือร่วมกับบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรม โดยประกาศแผนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทยกว่า 6,400 ล้านบาท เมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา.

cr:https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2684913
https://www.google.com/..0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%..