เวลาที่ใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลานานกว่าเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันรถยนต์ โดยใช้เวลาในการชาร์จไฟฟ้าที่บ้านหรือที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปให้เต็ม 100% เร็วที่สุดคือมากกว่า 30 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ และกำลังไฟฟ้าของเครื่องชาร์จหรือจุดจ่ายไฟ..
.ค่าใช้จ่ายเมื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
การชาร์จไฟฟ้าที่บ้านต้องติด EV Charger ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับมิเตอร์ที่ติด
-มิเตอร์ทั่วไป อัตราค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 4 บาท/หน่วย ตลอด 24 ชั่วโมง
-มิเตอร์ TOU หรือแบบ Time of Use จะมีเรทการคิดค่าไฟอยู่ 2 ช่วง ได้แก่ On Peak (เวลา 09.00-22.00 น. วันจันทร์-ศุกร์) กับ Off Peak (เวลา 22.00-09.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ และช่วงเวลา 00.00-24.00 วันเสาร์-อาทิตย์)
ช่วง On Peak อัตราค่าไฟฟ้า 5.X บาท/หน่วย
ช่วง Off Peak อัตราค่าไฟฟ้า 2.6X บาท/หน่วย
ถ้าจะใช้รถยนต์ไฟฟ้า แนะนำให้เปลี่ยนมิเตอร์บ้านเป็นแบบ TOU เพราะคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า จะชาร์จทิ้งไว้ช่วงกลางคืนระหว่างพักผ่อน
ชาร์จรถยนต์นอกบ้าน แพงกว่า
สถานีชาร์จไฟฟ้าแต่ละบริษัทราคาต่างกัน บางบริษัทจะมีเรทการคิดค่าไฟอยู่ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วง On Peak กับ Off Peak
ช่วง On Peak อัตราค่าไฟฟ้าเริ่มต้น 6.9 บาท/หน่วย
ช่วง Off Peak อัตราค่าไฟฟ้าเริ่มต้น 4.5 บาท/หน่วย
โหลดแอปพลิเคชันหาสถานีชาร์จติดไว้หน่อย
ต้องไม่ลืมว่าจำนวนสถานีชาร์จตอนนี้ยังมีน้อยและไม่ครอบคลุม แต่ในอนาคตมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ บางบริษัทสามารถจองชาร์จล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันได้ (เสียค่าบริการ)
.
เข้าศูนย์บริการเท่านั้นเมื่อรถเสีย
หากรถเกิดปัญหาขึ้นมาก็ต้องเข้าศูนย์บริการเท่านั้น เพราะอู่ซ่อมรถยนต์ไฟฟ้าได้ยังมีน้อยมาก
.
ถ้าต้องเปลี่ยน”ยาง”รถยนต์ไฟฟ้า
นอกเหนือจากการเรื่องระบบพลังงานแล้ว ในส่วนของอะไหล่และการซ่อมบำรุงยังแตกต่างกับรถยนต์น้ำมัน โดยเฉพาะยางรถยนต์ ควรใช้ยางสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ยางรถ EV นั้นถูกทำมาเพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถที่มากกว่า, แรงบิดที่สูงกว่ารถสันดาป และยังช่วยในการประหยัดไฟฟ้าและทำให้สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น แต่ก็มาพร้อมราคาที่สูงกว่า 2-3 เท่า
.
รถยนต์ไฟฟ้า”เสียวกว่า”เมื่อลุยน้ำท่วม
เพราะว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ใต้ท้องรถ และเป็นจุดที่ต่ำที่สุด จึงน่าหวาดเสียวเวลาที่เจอกับน้ำท่วม แต่แบตเตอรี่ก็มีระบบกันน้ำ รถยนต์ไฟฟ้าจะมีการทดสอบ IP Rating (Ingress Protection) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและของเหลวเล็ดลอดเข้าภายในตัวรถ
รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นปัจจุบันมีระดับ IP67 ซึ่งค่อนข้างกันน้ำได้ดี หมายความว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถลุยน้ำได้ประมาณ 3 ฟุต เป็นเวลา 30 นาที โดยไม่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเข้าไปในส่วนประกอบไฟฟ้าของรถ.