สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม ร่างกฎหมายใหม่ได้กำหนดอัตราความเร็วการขับรถยนต์ไว้ ทางเดินรถแบบจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้นและไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ได้กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกินตามประเภทของรถ ได้แก่..
กฎหมายความเร็วรถบรรทุก
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกผู้โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายความเร็วรถยนต์
- รถยนต์ 4 ล้อใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ขับรถเลนขวาสุดบนทางหลวง ต้องวิ่งด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถที่ใช้ในการเกษตร ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 45 กม./ชม
- รถจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายความเร็วรถจักรยานยนต์ / มอเตอร์ไซค์
- รถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซีซีขึ้นไปให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายความเร็วบนทางด่วน 2566
- รถยนต์ 4 ล้อ วิ่งบนทางด่วนได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกมากกว่า 2,200 กิโลกรัม หรือรถโดยสารเกิน 15 คน ขับบนทางยกระดับหรือทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียน-รับส่งนักเรียน ขับบนทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขอบคุณรูปภาพจาก: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ละเมิดกฎหมายจราจร มีโทษอะไรบ้าง
- ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ขับรถฝ่าไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดงปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับขี่บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันควร ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ผู้แจ้งเบาะแสได้รับเงินส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของค่าปรับ
- ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ผู้โดยสาร “ตอนหลัง” ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คนขับ คนซ้อนไม่ใส่หมวกกันน็อค ปรับเท่าไหร่ 2566
- กรณีผู้ขับขี่ไม่ใส่หมวกกันน็อค ปรับ 400 บาท
- คนซ้อนไม่ใส่หมวกกันน็อค ปรับ 800 บาท
ยกเว้น ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีขับรถจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเป็นอันตราย
- นำรถยนต์ที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควันดำ ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทาง เดินรถปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถปรับ 500 บาท
- นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถปรับ 1,000 บาท
- นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กำหนดมาใช้ ในทางเดินรถปรับ 1,000 บาท
- ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจรจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 -10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจรปรับ 400 -1,000 บาท
- ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควรปรับ 400-1,000 บาท
- ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมาย จราจรให้แซงได้ปรับ 400-1,000 บาท
- ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ปรับ 500 บาท
- ขับรถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร อัตราโทษปรับ 1,000 บาท
- ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดจากที่กำหนดปรับ 500 บาท
- ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายในระยะ 150 เมตร ปรับ 1,000 บาท
- ขับรถในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท
- ขับรถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสง สะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้ เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินปรับ 500 บาท
- ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏด้วยมือปรับ 1,000 บาท
- ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร ปรับ 1,000 บาท
ไม่พกใบขับขี่ ปรับเท่าไหร่ 2566
หากผู้ใดขับรถไม่มีใบขับขี่ จะมีโทษต่าง ๆ ดังนี้..
- ไม่มีหรือไม่พกใบขับขี่รถยนต์ เสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ ปรับประมาณ 200 – 500 บาท
- ขับรถในขณะที่ใบขับขี่หมดอายุ ถูกพักใช้ ถูกเพิกถอน หรือถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ จะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ผู้ประกอบการยินยอมให้ขับรถสาธารณะโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับรถไม่มีใบขับขี่ เพราะให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาต ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
กรณีประจำรถโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากผู้ใดฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
ขับรถเหยียบน้ำกระเด็นใส่ผู้อื่น
ปรับสูงสุด 10,000 บาท โทษจำคุกสูงสุด 3 เดือน
ขับรถเหยียบสุนัข
ผู้ใดขับรถเหยียบสุนัข โดนข้อหาทารุณกรรมสัตว์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขับรถขวางทางรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาล
กฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 76 : เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ถ้าหากการกระทำนั้นเป็น”เหตุโดยตรง”ที่ทำให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต อาจเข้าข่ายกระทำความผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของผู้ขับรถ
กรณีขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง 50 เมตรปรับ 1,000 บาท
กฎหมายจราจรอื่น ๆ ที่ควรรู้!
- ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลังปรับ 500 บาท
- ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือ แสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 -10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตน หรือแก่คนโดยสาร) ปรับ 1,000 บาท
- กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจรปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งหรือประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้ายแสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุกจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่กำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทางเดินรถที่มีสวนกันได้ปรับ 200-500 บาท
- ไม่ขับรถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสารรถจักรยานยนต์ที่มีความเร็วช้าในช่องเดินรถซ้ายสุด ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ปรับ 400-1,000 บาท
- เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณปรับ 400-1,000 บาท
- ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยกปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
- ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าโดยไม่ให้สัญญาณมือหรือแขนหรือสัญญาณไฟปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจรปรับตั้งแต่ 200-500 บาท
- กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพานปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
- กลับรถที่ทางร่วมทางแยก (เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้)ปรับ 400-1,000 บาท
- หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจปรับ 500 บาท
- ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถปรับ 500 บาท
- จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินกว่า 25 เซนติเมตรปรับ 500 บาท
- หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควรปรับ 500 บาท
- หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถ โดยไม่มีเหตุผลสมควรปรับ 500 บาท
- จอดรถบนทางเท้าปรับไม่เกิน 500 บาท
- จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ปรับไม่เกิน 500 บาท
- จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยกปรับ 500 บาท
- จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอดปรับ 500 บาท
- จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตรปรับ 500 บาท
- จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรปรับ 500 บาท
- ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้ายจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอด นั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท
- ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ลุ้นรับเงินรางวัล โครงการอาสาตาจราจร
ส่งคลิปกล้องหน้ารถหรือโทรศัพท์มือถือที่บันทึกอุบัติเหตุ และการกระทำผิดกฎจราจร ชิงเงินรางวัลสูงสุด 20,000 บาท โดยจะมีการคัดเลือกคลิปที่ส่งมาทุกเดือน !!
รายละเอียดเงินรางวัล
- รางวัลที่ 1 จะได้รับเงิน 20,000 บาท
- รางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 บาท
- รางวัลที่ 3 จำนวน 6,000 บาท
- รางวัลชมเชย รวมเป็นเงิน 50,000 บาท
สถานที่สำหรับส่งข้อมูล
- มูลนิธิเมาไม่ขับ
- ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร.
- จส.100
- สวพ.91
- Facebook เพจตำรวจทางหลวง
- Facebook เพจกองบัญชาการตำรวจนครบาล
โดนใบสั่งแต่ไม่จ่ายค่าปรับ โดนหมายจับย้อนหลัง 1 ปี
โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้..
1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ปี 2522 ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจ ทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารกรุงไทย, เค้าเตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM และทางไปรษณีย์
3. กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหา เพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่ เพื่อออกหมายจับ
4. กรณีถูกออกหมายเรียก หรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งในขั้ตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หรือหมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2. ได้
5. ผลของการถูกออกหมายจับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบ ฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบากในเรื่องการเดินทาง ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม
6. กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายจับด้วยตนเอง หรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกัน พนักงานสอบสวนจะยกเลิกหมายจับ และลบประวัติออกจากระบบ
ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยว่ามีใบสั่งค้างชำระหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ . หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และย้อนหลัง 1 ปี สำหรับใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ ซึ่งจะหมดอายุความใน 1 ปี มีระบบตรวจสอบโดยเน้นผู้ที่กระทำผิดซ้ำๆ ส่วนใบสั่งที่หมดอายุความเกิน 1 ปีนับย้อนหลังจากนี้ ไม่มีผลแต่อย่างใด.